ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง
ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง
เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ
การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น
การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ
ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP)
ซึ่งหมายถึง
มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด
(ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้
GNP ต่อคน (GNP per Capita)
จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง
นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น
(Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง
มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี
มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP
นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP
จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market
System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร
นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด
คือ
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition)
เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย
แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้
เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์
การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย
ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี
ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal
Market) เท่านั้น
2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
(Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ
เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก
โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน
ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย
และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย
(Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ
โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย
เป็นต้น
4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ
ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว
โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ
การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น