ตลาดในความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ที่
ๆ มีกิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้า บริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน
ซึ่งจะกินความหมายกว้างกว่าตลาดที่เรารู้จักกันอยู่ทั่วไป โดยตลาดอาจมีได้หลายแบบ
ตั้งแต่ตลาดภายในประเทศ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดต่างประเทศ ตลาดผลผลิต
ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ยินกันบ่อยๆ
รวมไปถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น
ซึ่งการที่ตลาดมีอยู่หลายแบบ
เพราะเป็นการกำหนดจากผู้เรียกว่าจะเรียกตลาดโดยแบ่งตามหลักเกณฑ์อะไร เช่น
หลักเกณฑ์ตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ตามชนิดของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาด
หรือตามสภาพของการซื้อขายที่เกิดขึ้น รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่น
ๆ
จะเห็นได้ว่าตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายกว้างกว่าตลาดที่เราเห็นอยู่ทั่วๆ
ไป เนื่องจากอาจจะไม่จำเป็นต้องมีตัวสถานที่ซื้อขายที่เป็นตลาดจริง ๆ ก็ได้
แต่ที่สำคัญคือ
ตัวกิจกรรมในการซื้อขายมากกว่า
โครงสร้างของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย
และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาด ได้แก่
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfectly
competitive market)
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfectly competitive market)
ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ได้อีก 2
ประเภทได้แก่
1) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure monopoly
market)
2) ตลาดกึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด (Monopolistic competitive
market)
วิธีดูว่าตลาดเป็นแบบใด ให้ดูลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย
และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาดที่สำคัญได้แก่ การตั้งราคาของผู้ขาย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น