รูปแบบการจัดองค์กรในช่องทางการตลาด จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในช่องทางการตลาดหลาย ๆ ด้าน เช่น ประเภทของช่องทาง ความซับซ้อนของช่องทาง จำนวนคนกลางที่เกี่ยวข้อง ความหลากหลายของคนกลาง อำนาจการควบคุมและการติดตามผลการปฏิบัติงานการประสานงานในช่องทางเป็นต้นการจัดรูปแบบขององค์กรในช่องทางการตลาดมักจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระดับของการตัดสินใจในแต่ละด้านดังกล่วของแต่ละกิจการ
รูปแบบการจัดองค์กรในช่องทางการตลาด
รูปแบบการจัดองค์กรในช่องทางการตลาด เมื่อพิจารณาตามแนวคิดของ NBarry Berman (1996 : 521) และแนวความคิดของ Philip Kotler (1997 : 549) แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. ช่องทางการตลาดแบบสามัญ (conventional marketing channels)
2. ช่องทางการตลาดแบบระบการตลาดตามแนวตั้ง (vertical marketing systems)
3. ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวนอน (horizontal marketing systems)
4. ช่องทงการตลาดแบบระบบการตลาดหลายช่องทาง (multichannel marketing systems)
ช่องทางการตลาดแบบสามัญ (conventional marketing channels)
ช่องทางการตลาดแบบสามัญ ประกอบด้วยคนกลางอิสระแต่ละรายปฏิบัติงาน การตลาดในรูปแบบการดำเนินงานเฉพาะของตนเอง แยกการบริหารงานเป็นอิสระจากกันเด็ดขาด ช่องทางการตลาดแบบนี้ประกอบด้วย ผู้ผลิต คนกลางที่เป็นพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค
ช่องทางการตลาดแบบสามัญ เป็นรูปแบบการขยายตัวของช่องทางการตลาด ที่เกิดจากการรวมกลุ่มดำเนินงานในหมู่คนกลางอิสระ ที่แต่ละกิจการมีอิสระในการดำเนินงานของตนอย่างเด่นชัด คนกลางอิสระเหล่านี้มุ่งแสวงหาผลกำไรจากการปฏิบัติภารกิจของตนเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนกลางรายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่องทางการตลาดเดียวกัน มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า สามารถตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินงานของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเป้าหมายร่วมกันแต่อย่างใด ช่องทางการตลาดแบบสามัญไม่ได้มีการกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานกันไว้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งกิจการที่ปฏิบัติงานร่วมกันจะไม่มีความผูกพันกับระบบการตลาดรวมทั้งระบบแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ การประสานงานระหว่างสมาชิกในช่องทางการตลาด มักจะเป็นไปในรูปของการต่อรองการเจรจาแลกเปลี่ยน มากกว่าการวางแผนร่วมกัน ทั้งนี้เกิดจากการขาดความผูกพัน ศรัทธาเชื่อถือต่อกันมักจะเป็นไปในลักษณะของการทำงานร่วมกับแบบหลวม ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าช่องทางการตลาดแบบสามัญนี้จะไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพให้กับระบบการตลาด แต่จะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการที่เกิดขึ้นในตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีผลดีสำหรับตลาดสินค้า และบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ตลาดรถยนต์ใช้แล้ว เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ในบ้าน อาหาร วัสดุสิ้นเปลืองในสำนักงาน ประกันชีวิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น