Philip Kotler (1997 : 549) ได้แบ่งรูปแบบของการจัดการช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวตั้ง ออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร (administered marketing channel system or administered VMS)
2. ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันโดยสัญญา (contractual marketing channel system or contractual VMS)
3. ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว (corporate marketing channel system or corporate VMS)
1. ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร (administered marketingchannel system or administered VMS) เป็นระบบที่มีการประสานงานกันในขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่ายรวมทั้งการตลาด โดยมีสมาชิกช่องทางการตลาดรายใดรายหนึ่งเป็นผู้กำหนดโปรแกรมการดำเนินงานทั้งหมด สถาบันการตลาดที่จัดอยู่ในระบบยังคงดำเนินงานไปตามเป้าหมายของแต่ละองค์กร และไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรในลักษณะรวมกิจการกันแต่อย่างใด เพียงแต่โปรแกรมงานการตลาดที่ทำขึ้นมาจะถูกปฏิบัติในลักษณะร่วมมือกัน อย่างไม่เป็นทางการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ส่วนมากแล้วผู้ผลิตรายใหญ่ที่ตราสินค้าเป็นที่รู้จักกันด ีและมีอิทธิพลเหนือกว่าสมาชิกระดับอื่น ๆ มักจะนิยมใช้ระบบการตลาดแบบนี้ เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จึงมีอำนาจการต่อรองสูง สามารถที่จะขอความร่วมมือจากคนกลาง (พ่อค้าปลีก) ในการจัดแสดงสินค้า การจัดชั้นวาง การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดอื่น ๆ ได้ เช่น บริษัท ลีเวอร์ บราเธอร์ จำกัด บริษัทพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จำกัด เป็นต้น
ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร ผู้ผลิตและพ่อค้าปลีก มักจะตกลงร่วมกันที่จะใช้ ข้อตกลงการจัดการสินค้าตามโปรแกรม (programmed merchandising agreements) ซึ่งเป็นแผนงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและพ่อค้าปลีก ที่ได้มีการตกลงร่วมกันกำหนดแผนงานขึ้นเป็นกรณีเฉพาะ เพื่อดำเนินการจัดการสินค้า (merchandising) ให้เป็นไปตามข้อตกลง กิจกรรมการจัดการสินค้าที่ระบุไว้ล่วงหน้านี้แต่ละร้านค้าที่อยู่ร่วมในข้อตกลงเดียวกัน จะต้องดำเนินงานไปตามข้อตกลงที่กำหนดไว้เหมือนกันทั้งหมด
การจัดจำหน่ายในระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันทางการบริหาร ซึ่งผู้ผลิตและพ่อค้าปลีกได้ใช้ระบบการจัดการสินค้าตามโปรแกรมดังกล่าว ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพรวมของช่องทางจำหน่ายที่ใช้ระบบโปรแกรม และเป็นผลดีแก่ผู้ร่วมปฏิบัติงานทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านการวางแผนงานการจัดการสินค้า การพัฒนาศักยภาพการจัดจำหน่าย การประสานงานและควบคุมงาน
สำหรับผู้ผลิต จะได้รับผลดีดังนี้
1. สามารถพัฒนาไปสู่ยอดขายสูงสุดและศักยภาพกำไรที่คาดไว้ โดยไม่ต้องเปรียบเทียบผลงานเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียว
2. ดำเนินการส่งเสริมการตลาดและสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยกิจกรรมการวางตารางการผลิตและการจัดจำหน่ายที่ทำให้เกิดความประหยัดยิ่งขึ้น
3. ปรับปรุงความสามารถในการคาดคะเนยอดขาย เพื่อวางแผนการผลิตและการจัดจำหน่าย
4. ได้รับความสำเร็จในการวางแผนงาน การประสานการดำเนินงาน และการควบคุมการตลาด ร่วมกันเพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายในตลาด
5. กำหนดระดับความต้องการสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีกได้แม่นยำ ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและควบคุมสินค้าคงคลัง
สำหรับพ่อค้าปลีกจะได้รับผลดี ดังนี้
1. มีการจัดการสินค้าในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม
2. พอใจที่จะตัดสินใจโดยพิจารณาจากผู้ผลิตหรือแหล่งทรัพยากร
3. สามารถวางแผนสินค้าให้มีความหลากหลายและควบคุมได้ดี
4. ระบุถึงข้อกำหนดในการรักษาระดับสินค้าคงคลังไว้ได้ชัดเจน
5. มีการจัดการสินค้าโดยใช้นโยบายราคา เป็นพื้นฐานสำคัญ
6. บริหารงานการจัดการสินค้า โดยเกิดความประหยัดและมีประสิทธิภาพ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น