ir a principal |
Ir a lateral
หุ้น คืออะไร ?
หลังจากได้ทราบว่า ตลาดหุ้นคืออะไร
มีวัตถุประสงค์และหน้าที่อย่างไรแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาดูว่า
ตลาดแห่งนี้มีสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งสินค้าของตลาดหุ้นก็คือ หุ้น นั่นเอง
ซึ่งสินค้าก็จะมีหลากหลายแบ่งแยกตามประเภทของสินค้า
และตามความสนใจของนักลงทุน จริงๆแล้ว สินค้าเหล่านี้
คงจะเคยผ่านสายตาใครหลายๆคนมาแล้ว ตามสื่อโทรทัศน์
ซึ่งจะมีตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษต่างๆ วิ่งผ่านทางหน้าจอ
โดยอักษรเหล่านั้นจะเป็นตัวย่อของบริษัท ยกตัวอย่างเช่น MCOT ย่อมาจาก
บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งสินค้าในตลาดหลักทรัพย์
เราเรียกโดยรวมว่า "ตราสาร" หมายถึง
เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินทุน
จากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท
ดังนี้
1) หุ้นสามัญ (Common Stock)
คือหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80%
ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภท หุ้นทุน
ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน
เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ โดยตรง เช่น
การมีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ร่วมตัดสินในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
โดยผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ
กำไรจากการขายหุ้นถ้าหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่
ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ
ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์
มีการซื้อขายกันน้อย มีสภาพคล่องต่ำ บนกระดานหุ้นจะสังเกตุได้จาก -P เช่น
SCB-P, TISCO -P เป็นต้น
3) หุ้นกู้ (Debenture)
เป็นตราสารที่บริษัทเอกชนออกเพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน
โดยผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการบริษัท
และบริษัทจะต้องจ่ายผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือตามระยะเวลา
และอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน
เมื่อสิ้นอายุตามระบุในเอกสาร
ตลาดหุ้นกู้มักมีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากนัก ส่วนใหญ่ซื้อขายโดย
ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้ลงทุนระยะยาว
4) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
หุ้นกู้แปลงสภาพ คล้ายคลึงกับ หุ้นกู้ แต่แตกต่างกันตรงที่
หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
ในช่วงเวลาอัตราและราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่เศรษฐกิจดี
หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทน
ได้จากราคาหุ้นเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้กำไรมากกว่า
ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา
5) ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อ หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์
ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงระยะเวลาที่ระบุไว้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ
มักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุน
6) ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น (Short - Term Warrant)
ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้จะมีอายุไม่เกิน 2 เดือน
และเป็นทางเลือกหนึ่งจากการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น
แทนการจัดสรรสิทธิในการจองซื้อหุ้น
และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สามารถยืนคำขอให้รับเป็นหลักทรัพย์ประเภทที่ซื้อ
ขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
7) ใบสำคัญแสดงสิทธอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)
เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป
โดยจะให้สิทธิแก่ผู้ถือ DW ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง
ซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์ หรือดัชนีหลักทรัพย์ ในราคาใช้สิทธิ
อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออก DW
เป็นหลักทรัพย์ หรือ เงินสดก็ได้
8) หน่วยลงทุน (Unit Trust)
คือ ตราสารที่ออกโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)
ในรูปของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมเงินทุนจากประชาชน โดย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเป็นผู้บริหารกองทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูง
สุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล
ข้อดีของการลงทุนประเภทนี้คือ จะมีผู้บริหารมืออาชีพดูแลเงินแทนเรา
มีการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหุ้นกลุ่มต่างๆ
และมีอำนาจต่อรองที่มากกว่า เพราะเป็นกองทุนขนาดใหญ่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น