Custom Search
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์


ปัจจุบันการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์มิได้เกี่ยวข้องกับการ จัดการเชิงกลุยุทธ์ภายในแต่ละองค์การเท่านั้น แต่ได้ ขยาย ขอบเขตการดำเนินงาน ของระบบให้ครอบคลุมการใช้งานของลูกค้า (Customer) ผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) และพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliances) ซึ่งทำให้เกิดการใช้สารสนเทศ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Information Interdependence) เช่น การสำรองที่นั่งของสายการบิน การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ การสั่งซื้อสินค้า และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange .EDI) เป็นต้น เราเรียกระบบในลักษณะนี้ว่า "ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational Information System)" ระบบ สารสนเทศระหว่างองค์การสามารถประยุกต์ให้เป็นประโยชน์และ ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ทั้งในด้านความ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนถึง การนำสารสนเทศไปประยุกต์เชิงกล ปัจจุบันระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้รับความสนใจนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ในหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งครอบ คลุม กิจกรรม ของธุรกิจมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล และการควบคุมการปฏิบัติงานเท่านั้น หลาย องค์การ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงสุด เพื่อรักษา โอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งหวัง ให้ธุรกิจสามารถธำรงอยู่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลาง กระแสการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

ปกติองค์การจะยังไม่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ในขั้นตอนเริ่มต้นของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน แต่จะมีกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ใน การ เรียนรู้ถึงศักยภาพของ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมักจะแปรผันตามความสามารถ ด้านสารสนเทศ ขององค์การ (Organizational Information Capability) ซึ่งจะมีความ แตก ต่างกันตามพัฒนาการของแต่ละองค์การโดยเราสามารถ จำแนกการนำเทคโนโลยีสารสเนทศมาประยุกต์กับกลยุทธ์องค์การออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
1. อิสระต่อกัน (Independent) จะเป็นระดับเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ โดยระบบสารสนเทศจะไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการ กำหนดกลยุทธ์ขององค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ ถูกนำมาใช้สนองวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่ละด้านขององค์การ เช่น หน่วยปฏิบัติงาน การเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นระบบส่วนใหญ่จะประมวลงาน ประจำวัน เช่น รายงานลูกค้า รายงานประจำวัน เป็นต้น
2. ร่วมกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยการนำข้อมูลที่ ผ่านกระบวนการ ประมวลผลมาใช้ประกอบ การกำหนดและวางนโยบายขององค์
3. การกำหนดนโยบายร่วมกัน (Policy Exccution) การประยุกต์เทคโนดลยีสารสนเทศในระดับนี้จะเป็นขั้นสูงสุด ของความสัมพันธ์ ระหว่างเทคโนดลยีสารสนเทศกับองค์การ โดยเทคโนโลยี สารสนเทศจะเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดกลยุทธ์ องค์การและการนำนโยบาย ไปปฏิบัติ เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีความสัมพันธ์ในเชิงบูรณาการกับกลยุทธ์ขององค์การ
หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานคือ การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้แก่องค์การ แต่งาน สารสนเทศ ส่วน ใหญ่ยังอยู่ในระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้อง อาศัย ระยะเวลาและความ เข้าใจจากผู้บริหารในการพัฒนา ระบบสารสนเทศ ให้มีความกลมกลืน กับองค์ การ การพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ไม่สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยขาด ความรู้และความ เข้าใจที่แท้จริง เพราะ ว่า ต้อง ใช้เงิน ลงทุนสูงและอาจมีปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น โดยวิธีการที่เหมาะสมในการ สร้างระบบ สารสนเทศ เชิงกลยุทธ์คือ การตรวจสอบ ระบบ ที่ใช้ งาน ในปัจจุบันว่ามีขีดความสามารถเพียงใดและสามารถ พัฒนาให้สอดคล้อง กับการดำเนินงานในระดับสูงได้อย่างไร โดยไม่ลืมพิจารณา ความสามารถ และศักยภาพในการพัฒนา ด้านสารสนเทศ ของบุคคล เป็นสำคัญ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น