เงินทุน หมายถึง เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว ได้แก่
- หนี้ระยะยาว (รวมหุ้นกู้และพันธบัตร)
- หุ้นบุริมสิทธิ
- หุ้นสามัญ
- กำไรสะสม
(ต้นทุนของเงินทุน = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ)
ต้นทุนของเงินทุนนี้จะใช้เป็นอัตราส่วนลด (discount rate) ในเรื่อง “งบลงทุน” ใช้เพื่อเปรียบเทียบในการตัดสินใจจัดหาแหล่งเงินทุนต่างๆ เช่น กิจการต้องการขยายกิจการแล้วจะใช้วิธีหาแหล่งเงินทุนจากทางใด
ถ้าเป็นการเพิ่มเงินลงทุนโดยหาแหล่งเงินทุนจากภายในกิจการ(ในส่วนของเจ้าของ) ได้แก่ การขายหุ้นสามัญ โดยต้นทุนที่จะเกิดขึ้น คือ เงินปันผล และเงินกำไรส่วนทุนที่ต้องคืนแก่ผู้ถือหุ้น
ถ้าเป็นการเพิ่มเงินลงทุนโดยหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกกิจการ ได้แก่
• การขายหุ้นบุริมสิทธิ ต้นทุนคือ เงินปันผล
• การกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ต้นทุน คือ ดอกเบี้ย
1. เหตุผลในการใช้ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย
เนื่องจากธุรกิจจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งต่างๆ ที่มีต้นทุนไม่เท่ากัน จึงต้องใช้ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ที่จัดหามา โดยไม่ต้องสนใจว่าโครงการลงทุนใด จะใช้เงินทุนจากแหล่งใดโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องมีการเฉลี่ยต้นทุนของเงินทุนทั้งจำนวนนั้น โดยการคำนวณต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย WACC (Weighted Average Cost of Capital)
2. องค์ประกอบของเงินทุน (Capital Components) คือ รายการด้านขวาของงบดุล (หนี้สินระยะสั้น หนี้สินระยะยาว)
ต้นทุนของเงินลงทุนแต่ละแหล่ง เรียกว่า Components Cost
สัญลักษณ์ที่ใช้
kd = อัตราดอกเบี้ยของหนี้สินใหม่ (ต้นทุนของหนี้สินก่อนภาษี)
kd(1-T) = ต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษี
T = อัตราภาษี
kp = ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ
ks = ต้นทุนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ( มี 2 แหล่ง คือ กำไรสะสม + ออกหุ้นสามัญจำหน่าย)
WACC = ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน (Weighted Average cost of Capital)
ถ้า WACC ต่ำสุด มูลค่าของกิจการ (ราคาหุ้นสามัญ) จะสูงสุด
3. ต้นทุนของหนี้สิน Cost of Debt : kd(1-T) ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี = อัตราดอกเบี้ย – ภาษีที่ประหยัดได้
= kd – kdT
= kd(1-T)
* การใช้ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี เพราะดอกเบี้ยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษี
ตัวอย่าง บริษัท A สามารถกู้เงินอัตราดอกเบี้ย 10% และอัตราภาษีได้ 40%
ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี = 10(1-0.40)
= 10(0.60)
= 6%
4. ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ Cost of Preferred Stock: kps
kp =
Dps = เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ
Pn ราคาจำหน่ายของหุ้นบุริมสิทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย
*ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องคิดหลังเสียภาษี เพราะเงินปันผลจ่ายของหุ้นบุริมสิทธินำมาจากกำไรสุทธิหลังจาก
หักภาษีแล้ว
ตัวอย่าง บริษัท A ขายหุ้นบุริมสิทธ์หุ้นละ 100 บาท อัตราเงินปันผล 10% ค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น 2.5%
kp = 10
97.50
= 10.3%
5.ต้นทุนของกำไรสะสม...Cost of Retained Earnings: ks คือ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญต้องการ
เป็นต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของผู้ถือหุ้นสามัญ เพราะผู้ถือหุ้นควรได้รับเงินปันผล แต่ไม่ได้รับ เนื่องจากบริษัทนำเงินกำไรที่ทำมาหาได้ไปลงทุนขยายกิจการ
เงินทุนจากผู้ถือหุ้นสามัญได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. กำไรสะสม
2. การออกหุ้นสามัญจำหน่ายเพิ่ม ซึ่งจะมีต้นทุนสูงกว่ากำไรสะสม เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย
การคำนวณต้นทุนของกำไรสะสม มี 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1 CAPM … จากสูตรสมการที่ว่า ks = kRF+(kM-kRF)bi
ตัวอย่าง kRF = 8% , kM = 13% , bi = 0.7
ks = 8 + (13 – 8)0.7
= 8 + (5)0.7
= 11.5%
ซึ่งปัญหาของการใช้ CAPM คือ
1) ปัญหาจากการศึกษาเรื่อง CAPM ในบทที่ 5 ในเรื่องของความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ
2) การกำหนด Risk free rate(kRF ) ในประเทศไทยทำได้ยาก
3) ค่า beta (bi )หาจากข้อมูลในอดีต ซึ่งในอนาคตเหตุการณ์อาจไม่เหมือนกับอดีต ทำให้ค่า bi อาจไม่ถูกต้อง
4) การประมาณค่า Market risk premium (kM-kRF) ทำได้ยาก
วิธีที่ 2 อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรบวก Bond-Yield plus Risk premium คือ อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรบวกด้วย RP ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วง 3-5% แล้วแต่บริษัทจะพิจารณา
ks = Bond Yield + Risk premium
ตัวอย่าง บริษัทที่มีฐานะดีอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร 8% risk premium 4%
ks = Bond Yield + Risk premium
ks = 8% + 4% = 12%
ตรงข้าม บริษัทที่มีความเสี่ยงสูงกว่ามี Bond Yield สูงถึง 12% ks = 12% + 4% = 16%
วิธีที่ 3 DCF; Dividend Yield บวก Growth Rate หรือ Discounted Cash Flow (วิธีอัตราส่วนลด)
...จากบทที่ 8 ที่จุดดุลยภาพ ks = (D1/P0)+g ซึ่งปัญหาของวิธีนี้คือ เราจะคาดการณ์ค่า g ได้อย่างไร
ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ 2 วิธี
1) ใช้ข้อมูลในอดีต โดยดูจากอัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล
P0 = D1
ks - g
2) วิธี Retention Rate โดยที่ g = b(ROE) ซึ่ง b = 1 - Payout ratio (อัตราที่เหลือของกำไร หลังจากจ่ายเงินปันผลแล้ว)
จากสมการ
Ks = D1 + g
P0
ตัวอย่าง บริษัท A ราคาหุ้นสามัญขณะนี้ (P0) หุ้นละ 23 บาท เงินปันผลปีปัจจุบัน (D0) 1.15 บาท
คาดว่าปีหน้าจ่ายปันผลขึ้น 8%
Ks = D1 + g
P0
= 1.15(1.08) + 8%
23
= 1.24 + 8%
23
= 1.34%
สรุป ทั้ง 3 วิธีคำนวณ Ks จะไม่เท่ากัน คือ
วิธีที่ 1 = 11.5%
วิธีที่ 2 = 12.0%
วิธีที่ 3 = 13.4%
จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร ผู้บริหารที่ conservative จะใช้ 13.4% หรืออาจใช้ต้นทุนทั้ง 3 วิธี ถัวเฉลี่ยกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยง
6. ต้นทุนของหุ้นสามัญที่ออกใหม่ Cost of Newly Issued Common Stock: ke …จะมีลักษณะเหมือนหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะมีค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีต้นทุนสูงกว่า
ke จะสูงกว่า Ks เพราะการออกหุ้นใหม่จำหน่ายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น
โดยคิดได้จากสมการ
Ke =
D1 + g
P0(1-F)
เมื่อ F = Flotation Rate = ค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น
P0(1-F) = ราคาขายสุทธิ
ข้อสังเกต
1. ตันทุนของหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายใหม่จะสูงกว่าต้นทุนของกำไรสะสม (ke > Ks )
2. การนำเงินที่ได้จากการออกจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่ไปลงทุนจะต้องให้ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเดิม เพื่อมิให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญลดลง