Custom Search
วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดธุรกิจ E-Commerce

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce จะเกิดขึ้นมาได้ต้องมาจากปัจจัยหลัก 2 ประการด้วยกัน ได้แก่
1. ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า
2. ความไว้วางใจ
ซึ่งทั้ง 2 ข้อดังกล่าวจะเป็นแกนหลักสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมาก เพราะว่าสินค้าหรือบริการในเว็ปไซต์เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อไม่สามารถจับต้องได้ ทั้งนี้ การที่จะให้ผู้ซื้อเชื่อว่าเว็ปไซต์นี้มีผู้ขาย และมีสินค้าอยู่จริงเราก็ต้องทำให้เกิดความไว้วางใจก่อน
ความไว้วางใจดังกล่าว คือ ความไว้วางใจที่มีต่อเว็ปไซต์ เจ้าของเว็ปไซต์จะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่า ถ้าเขาซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็ปไซต์คุณไปเขาจะได้รับสินค้าแน่นอน หรือถ้าในกรณีที่สินค้าชำรุดเขาจะสามารถเปลี่ยนได้ที่ไหน
รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทำให้สามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
• ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
• ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
• ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
• ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
• ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น