เศรษฐศาสตร์มหภาค (จาก มห- แปลว่า "ใหญ่" + เศรษฐศาสตร์) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถ โครงสร้าง พฤติกรรม และการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก นักเศรษฐศาสตร์มหภาคศึกษาดัชนีรวม อาทิ จีดีพี อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคา และความสัมพันธ์ระหว่างกันของแต่ละภาคในระบบเศรษฐกิจเพื่อทำความเข้าใจถึงการทำงานของเศรษฐกิจ พวกเขายังพัฒนาแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อาทิ รายได้ประชาชาติ ผลผลิต การบริโภค การว่างงาน เงินเฟ้อ การออม การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการเงินระหว่างประเทศ
แม้ว่าเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเป็นศาสตร์ที่กว้าง แต่มันก็ประกอบด้วยสองส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของศาสตร์นี้ คือการศึกษาสาเหตุและผลลัพธ์ของความผันผวนในระยะสั้นในรายได้ประชาชาติ (วัฏจักรธุรกิจ) และการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจ (การเพิ่มรายได้ประชาชาติ) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการพยากรณ์มักจะถูกใช้โดยรัฐบาลเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาและการประเมินนโยบายเศรษฐกิจ
ผลผลิตประชาชาติคือผลรวมของทุกอย่างที่ปรเทศผลิตได้ในช่วงขณะหนึ่ง ทุกอย่างที่ถูกผลิตขึ้นและขายสร้างรายได้ในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตรวมของระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ถูกไว้โดยจีดีพีต่อประชากร ผลผลิตและรายได้ถูกมองว่าเท่ากันและสามารถใช้แทนกันได้ ผลผลิตเปลี่ยนได้เป็นรายได้ ผลผลิตถูกวัดขึ้นหรือสามารถมองได้จากฝั่งการผลิตและถูกวัดเป็นผลรวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย หรือผลรวมของมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ
ผลผลิตทางเศรษฐกิจมหภาคมักถูกวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในบัญชีประชาชาติ เศรษฐกรผู้ที่สนใจในการเพิ่มขึ้นในระยะยาวศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสะสมเครื่องจักรและทุนอื่นๆ และการมีการศึกษาและทุนมนุษย์ที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นในผลผลิตทางเศรษฐกิจตลอดช่วงเวลา อย่างไรก็ดี ผลผลิตไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างคนเส้นคนวาตลอดเวลา วัฏจักรธุรกิจสามารถก่อให้เกิดการลดลงในระยะสั้นที่เราเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกรมองหานโยบายทางเศรษฐศาสตร์มหาภคที่ป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู้ภาวะถดถอยและทำให้การเจริญเติบโตในระยะยาวเร็วมากขึ้น