Custom Search
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบริหารการผลิต

การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมีพันธะกิจ
(Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า

         ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)

         ฝ่ายการเงิน : วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity)

         ฝ่ายการผลิต : วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ (Productivity)แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต
ของการผลิตจะมีดังต่อไปนี้

         1. การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้
         2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         3. การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า
         4. การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของ
ลูกค้าและ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหมเ่พื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่
เปลี่ยนแปลงไป

         คุณภาพ (Quality) เป็นวัตถุประสงค์หลักของการผลิตที่สำคัญที่สุด เพราะการที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ย่อมต้องการสิ่งที่ตรงกับความคาดหมายของเขา หรือถ้าได้ในสิ่งที่เหนือกว่าความคาดหมายก็ยิ่งพอใจมากขึ้น คุณภาพครอบคลุมความหมายถึงประโยชน์ใช้สอย รูปร่างลักษณะที่ดึงดูดใจ คุณค่าทางจิตใจที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ ฯลฯ

         ผลิตภาพ (Productivity) เป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของการบริหารการผลิต เพราะผลิตภาพคือการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของปัจจัยนำเข้าและปริมาณของผลผลิต

แต่วัตถุประสงค์ทั้งหมด

กลยุทธ์ระดับองค์กร

กลยุทธ์ระดับองค์กร เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดทิศทางขององค์กร ซึ่งเป็นทางเลือก
ต่างๆ ที่ใช้ในการตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร กลยุทธ์ระดับองค์กร
ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์เติบโต (Growth Strategy) กลยุทธ์คงที่
(Stabilization Strategy) กลยุทธ์ถดถอย (Investment Reduction Strategy) และกลยุทธ์
ฟื้นฟู (Turnaround Strategy)

กลยุทธ์เติบโต คือกลยุทธ์ในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและยอดขาย แบ่งเป็น
กลยุทธ์ใหญ่ๆ 3 ประเภทคือ Intensive Growth, Integrative Growth และ Diversification
Growth

กลยุทธ์คงที่ คือกลยุทธ์ที่มุ่งรักษาสถานะเดิมของธุรกิจไว้หรือการขยายขนาดของ
ธุรกิจเพียงเล็กน้อย เหตุผลที่บางองค์กรเลือกใช้กลยุทธ์คงที่มีหลายประการ เช่น องค์กร
ขาดศักยภาพในการเติบโต สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) ไม่เอื้อ-
อำนวยต่อการดำเนินกลยุทธ์เติบโต หรือผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการขาดแรงจูงใจในการ
ขยายกิจการ เนื่องจากมีความพอใจในสถานะที่เป็นอยู่ของกิจการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
การดำเนินกลยุทธ์คงที่เป็นเวลานานเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะจะทำให้ความสามารถใน
การแข่งขันขององค์กรในระยะยาวลดลงได้