ตลาดในความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ที่
ๆ มีกิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้า บริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน
ซึ่งจะกินความหมายกว้างกว่าตลาดที่เรารู้จักกันอยู่ทั่วไป โดยตลาดอาจมีได้หลายแบบ
ตั้งแต่ตลาดภายในประเทศ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดต่างประเทศ ตลาดผลผลิต
ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ยินกันบ่อยๆ
รวมไปถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น
ซึ่งการที่ตลาดมีอยู่หลายแบบ
เพราะเป็นการกำหนดจากผู้เรียกว่าจะเรียกตลาดโดยแบ่งตามหลักเกณฑ์อะไร เช่น
หลักเกณฑ์ตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ตามชนิดของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาด
หรือตามสภาพของการซื้อขายที่เกิดขึ้น รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่น
ๆ
จะเห็นได้ว่าตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายกว้างกว่าตลาดที่เราเห็นอยู่ทั่วๆ
ไป เนื่องจากอาจจะไม่จำเป็นต้องมีตัวสถานที่ซื้อขายที่เป็นตลาดจริง ๆ ก็ได้
แต่ที่สำคัญคือ
ตัวกิจกรรมในการซื้อขายมากกว่า
โครงสร้างของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย
และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาด ได้แก่
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfectly
competitive market)
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfectly competitive market)
ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ได้อีก 2
ประเภทได้แก่
1) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure monopoly
market)
2) ตลาดกึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด (Monopolistic competitive
market)
วิธีดูว่าตลาดเป็นแบบใด ให้ดูลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย
และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาดที่สำคัญได้แก่ การตั้งราคาของผู้ขาย
เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ตลาดผูกขาด
ตลาดผูกขาดเป็นตลาดที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์
โดยผู้ขายหรือธุรกิจที่อยู่ในตลาดแห่งมีเพียงรายเดียวเท่านั้นเพราะฉะนั้นลักษณะของอุปสงค์ในตลาดนี้จึงมีความชันเป็นลบ
นอกจากนี้ยังเป็นตลาดที่สามารถทำให้เกิดกำไรได้ในระยะยาวเพราะตลาดประเภทนี้มีกำแพงหรืออุปสรรคที่กีดกันไม่ให้ผู้แข่งรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้
ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ทำให้เกิดตลาดผูกขาด
คือ
1) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยความสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บริษัท Aluminum company of america (Alcoa) สามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการนำไปผลิตเป็นอลูมิเนียม ทำให้เกิดเป็นลักษณะของการผูกขาดขึ้นในการผลิตอลูมิเนียมในสหรัฐฯ
2) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรซึ่งจะเป็นเหตุให้คู่แข่งขันไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันนี้ได้อีก ตัวอย่างเช่น การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของ บริษัท DuPont ในการผลิตกระดาษแก้ว หรือ บริษัท Xerox เป็นเจ้าลิขสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารหรือ บริษัท Merck เป็นเจ้าของยาป้องกันโรคเอดส์
3) ในบางอุตสาหกรรมการผลิตที่ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) จำเป็นต้องมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเพราะตลาดที่จะรองรับสินค้ามีขนาดจำกัด เพราะฉะนั้นการมีผู้ผลิตหลายรายจึงทำให้สินค้าล้นตลาด ผู้ผลิตรายใหญ่เพียงรายเดียวจึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการมีผู้ผลิตรายย่อยหลายๆราย การผูกขาดลักษณะนี้จึงเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ(Natural monopoly) ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าประเภทสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
4) การผูกขาดที่เกิดจากอำนาจของรัฐบาล การผลิตสินค้าหรือบริการที่รัฐบาลเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิดเพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศหรืออาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยรัฐบาลอาจเข้าดำเนินธุรกิจเองหรือให้สัมปทานกับธุรกิจเป็นการทำสัญญาระยะยาวอาจจะเป็น 10 - 20 ปี ตัวอย่างเช่น การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ โรงงานยาสูบ ขนส่งมวลชน เป็นต้น ผู้ที่ได้รับสัมปทานจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ทำการผลิตสินค้าหรือบริการ
1) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยความสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บริษัท Aluminum company of america (Alcoa) สามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการนำไปผลิตเป็นอลูมิเนียม ทำให้เกิดเป็นลักษณะของการผูกขาดขึ้นในการผลิตอลูมิเนียมในสหรัฐฯ
2) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรซึ่งจะเป็นเหตุให้คู่แข่งขันไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันนี้ได้อีก ตัวอย่างเช่น การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของ บริษัท DuPont ในการผลิตกระดาษแก้ว หรือ บริษัท Xerox เป็นเจ้าลิขสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารหรือ บริษัท Merck เป็นเจ้าของยาป้องกันโรคเอดส์
3) ในบางอุตสาหกรรมการผลิตที่ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) จำเป็นต้องมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเพราะตลาดที่จะรองรับสินค้ามีขนาดจำกัด เพราะฉะนั้นการมีผู้ผลิตหลายรายจึงทำให้สินค้าล้นตลาด ผู้ผลิตรายใหญ่เพียงรายเดียวจึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการมีผู้ผลิตรายย่อยหลายๆราย การผูกขาดลักษณะนี้จึงเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ(Natural monopoly) ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าประเภทสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
4) การผูกขาดที่เกิดจากอำนาจของรัฐบาล การผลิตสินค้าหรือบริการที่รัฐบาลเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิดเพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศหรืออาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยรัฐบาลอาจเข้าดำเนินธุรกิจเองหรือให้สัมปทานกับธุรกิจเป็นการทำสัญญาระยะยาวอาจจะเป็น 10 - 20 ปี ตัวอย่างเช่น การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ โรงงานยาสูบ ขนส่งมวลชน เป็นต้น ผู้ที่ได้รับสัมปทานจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ทำการผลิตสินค้าหรือบริการ
ลักษณะของตลาดผูกขาด
1, มีผู้ขายเพียงรายเดียว ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงหน่วยผลิต (firm) จึงหมายถึงอุตสาหกรรม (industry) อุปสงค์ของผู้ผลิตผูกขาด (monopolist' s demand curve) จึงเป็นเส้นอุปสงค์ของตลาด (market demand curve)
2. สินค้าที่ผลิตขึ้นแตกต่างจากสินค้าของผู้ผลิตรายอื่น (product differentiation) และไม่สามารถใช้สินค้าชนิดอื่นทดแทนได้จึงทำให้ผู้ผูกขาดสามารถที่จะควบคุมราคาที่คิดจากลูกค้าได้ ผู้ผูกขาดจึงเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า (price maker)
3. ผู้ผูกขาดไม่มีคู่แข่งขันโดยตรงอันอาจเนื่องจากได้รับลิขสิทธิ์หรือสัมปทานในการผลิต หรือเป็นผู้รู้เทคนิคการผลิตแต่เพียงผู้เดียว
2. สินค้าที่ผลิตขึ้นแตกต่างจากสินค้าของผู้ผลิตรายอื่น (product differentiation) และไม่สามารถใช้สินค้าชนิดอื่นทดแทนได้จึงทำให้ผู้ผูกขาดสามารถที่จะควบคุมราคาที่คิดจากลูกค้าได้ ผู้ผูกขาดจึงเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า (price maker)
3. ผู้ผูกขาดไม่มีคู่แข่งขันโดยตรงอันอาจเนื่องจากได้รับลิขสิทธิ์หรือสัมปทานในการผลิต หรือเป็นผู้รู้เทคนิคการผลิตแต่เพียงผู้เดียว
Economic growth
ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง
ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง
เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ
การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น
การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง
นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น
2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น
4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง
นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น
2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น
4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น