Custom Search
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

อัตราส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม

อัตราส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม

  • ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น(Price/Earning (P/E) Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น
ระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน
  • ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น (Price/Case Flow Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น/กระแสเงินสดต่อหุ้น
ราคาหุ้นต่อกระแสเงินสด 1 บาท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท
  • มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per share) = ส่วนของผู้ถือหุ้น/จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
ราคาหุ้น คิดจากสินทรัพย์ของกิจการที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
  • Market/Book ratio = ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
ใช้วัดว่าผู้ลงทุนยินดีจ่ายเงิยซื้อหุ้นในราคาสูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีเพียงไร

DU PONT Equation

ROA = Profit Margin x Total Assets Turnover
ROA = PM x TATO
ROA = (NI/Sales) x (Sales/TA) = NI/TA

Modified Du Pont Equation

ROE = ROA x Equity Multiplier
ROE = PM x TATO x EM
ROE = NI/Sales x Sales/TA x TA/E = NI/E

ความหมายคำศัพท์


ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย หาได้จากไหน
อัตราส่วนหมุนเวียน current ratio บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ สูตร : สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน Current Assets สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในเวลา 1 ปี เช่น เงินสด ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ วัสดุสิ้นเปลือง ตารางงบดุล
หนี้สินหมุนเวียน Current Liabilities หนี้สินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตารางงบดุล
อัตราส่วนหมุนเร็ว Quick or Acid test ratio ความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ สูตร : (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
สินค้าคงเหลือ Inventory สินค้าคงเหลือในบัญชี ตารางงบดุล
อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ Inventory turnover ratio ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือ สูตร : ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ
ยอดขาย Anual Sales ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือ ขายสุทธิ ในงบกำไรขาดทุน
ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย DSO - Days Sales Outstanding จำนวนวันที่ใช้เก็บหนี้จากลูกหนี้การค้า สูตร : ลูกหนี้การค้า/ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน
ลูกหนี้การค้า Receivable ลูกหนี้การค้า งบดุล
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน Sales ยอดขายเฉี่ยต่อวัน สูตร : ยอดขาย/365
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร Fixed assets turnover ratio ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อให้เกิดยอดขาย สูตร : ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวร
สินทรัพย์ถาวร Net Fixed assets สินทรัพย์ถาวร ตารางงบดุล
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น Total assets turnover ratio ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย สูตร : ยอดขาย/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
สินทรัพย์ทั้งสิ้น Total assets สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ตารางงบดุล
อัตราส่วนหนี้สิน Debt ratio สินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้กี่ % สูตร : หนี้สินทั้งสิ้น/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
หนี้สินทั้งสิ้น Total Debt หนี้สินทั้งหมดของกิจการ ตารางงบดุล
TIE - Time Interest earned ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของธุรกิจ สูตร : EBIT/ดอกเบี้ยจ่าย
EBIT กำไรขาดทุน ก่อนที่จะทำการหัก ต้นทุนทางการเงินและภาษี งบกำไรขาดทุน
ดอกเบี้ยจ่าย Interest ดอกเบี้ยจ่าย งบกำไรขาดทุน
EBITDA coverage ratio ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร สูตร : (EBITDA + Lease payments) / (Interest + Loan repayments + Lease payments)
EBITDA กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา งบกำไรขาดทุน
ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว Lease payments ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว งบกระแสเงินสด
ชำระเงินต้น Loan repayments ชำระเงินต้น
อัตรากำไรสุทธิ Profit margin on sales กำไรเป็นกี่ % ของยอดขาย สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ยอดขาย
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ Net income available to common stockholder กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ในตารางงบกำไรขาดทุน
BEP - Basic Earning Power ความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย สูตร : EBIT/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ROA-Return on total assets,ROI-Return on Investment ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของ ROE-Return on common Equity อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ Common Equity อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน รวมส่วนของเจ้าของใน งบดุล
ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น Price/Earning (P/E) Ratio ระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น
ราคาตลาดต่อหุ้น Price per share ราคาตลาดต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้น Earning per share กำไรสุทธิต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น Price/Case Flow Ratio ราคาหุ้นต่อกระแสเงินสด 1 บาท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/กระแสเงินสดต่อหุ้น
กระแสเงินสดต่อหุ้น CFPS-Cash flow per share กระแสเงินสดต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น Book Value per share ราคาหุ้น คิดจากสินทรัพย์ของกิจการที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น สูตร : ส่วนของผู้ถือหุ้น/จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
Market/Book ratio ใช้วัดว่าผู้ลงทุนยินดีจ่ายเงิยซื้อหุ้นในราคาสูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีเพียงไร สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น BVPS - Book Value per share มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น 

อัตราส่วนการทำกำไร

  • อัตรากำไรสุทธิ(Profit margin on sales) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ยอดขาย
กำไรเป็นกี่ % ของยอดขาย
  • Basic Earning Power(BEP) = EBIT/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ใช้วัดความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย
  • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA,ROI,Return on Investment,Return on total assets) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์
  • อัตราผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของ (ROE,Return on common Equity) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน

ROA กับ ROE ต่างกันที่ "เงินกู้"

ROA = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ROA บอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของกิจการ (ความสามารถของผู้บริหาร)
ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ROA บอกถึง อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ (คนละจุดประสงค์กับ ROA)

บริษัทที่มีหนี้สิน 0 จะมี ROE สูงขึ้น กว่ากรณีที่ไม่มีหนี้สิน เพราะเงินทุนส่วนของเจ้าของน้อยลงในขณะที่บริษัทมีรายได้เท่าเดิม แต่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงของกิจการ หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากกว่า

อัตราส่วนสภาพคล่อง

อัตราส่วนสภาพคล่อง

  • อัตราส่วนหมุนเวียน (current ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ
  • อัตราส่วนหมุนเร็ว (Quick or Acid test ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่

อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

  • อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover ratio) = ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ
ถ้ามีค่ามาก แสดงว่าสินค้ามีสภาพคล่องสูง ขายได้ง่าย
  • อัตราการหมุนลูกหนี้การค้า = ยอดขายต่อปี/ลูกหนี้การค้า
  • ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DSO,Days Sales Outstanding) = ลูกหนี้การค้า/ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน = ลูกหนี้การค้า/(ยอดขายต่อปี/365)
เมื่อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแล้วใช้เวลากี่วันจึงจะเก็บเงินได้
  • ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย = 365/อัตราการหมุนของลูกหนี้การค้า
  • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets turnover ratio) = ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อให้เกิดยอดขาย
  • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น(Total assets turnover ratio) = ยอดขาย/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อให้เกิดยอดขาย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น บอกว่ากิจการมีสินทรัพย์ทั้งสิ้นที่มช้ในการดำเนินงานมากเกินไปหรือไม่ ถ้าหากค่านี้ต่ำแสดงว่าการใช้สินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นสินทรัพย์ไม่มีคุณภาพ ต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของสินทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน

  • อัตราส่วนหนี้สิน (Debt ratio) = หนี้สินทั้งสิ้น/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
กิจการมีสินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้กี่เปอร์เซ็น
  • Time Interest earned (TIE) = EBIT/ดอกเบี้ยจ่าย
ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของธุรกิจ
  • EBITDA coverage ratio = (EBITDA + Lease payments) / (Interest + Loan repayments + Lease payments)

ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร

สถาบันการเงิน

เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมเงินจากผู้ที่มีเงินออมแล้วนำไปจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการใช้เงิน เช่น
  1. ธนาคารพานิชย์
  2. บริษัทประกัน
  3. กองทุนรวม
  4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ดอกเบี้ย

ต้นทุนของเงิน

  • ต้นทุนของหนี้สิน คืออัตราดอกเบี้ย
  • ต้นทุนส่วนของเจ้าของ คือ ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วยเงินปันผลและกำไรส่วนทุน

องค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ย

k = k* + IP + DRP + LP + MRP
k = อัตราดอกเบี้ย
k* = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
IP = ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
KRF = k*+IP = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์รัฐบาล
DRP = Default risk premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
LP = Liquidity premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากสภาพคล่อง
MRP = Maturity Risk Premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน
ชนิดของหนี้สิน IP MRP DRP LP
ภาครัฐ ระยะสั้น +
ภาครัฐ ระยะยาว + +
เอกชน ระยะสั้น + + +
เอกชน ระยะยาว + + + +
  • เงินกู้ ต้องมี IP เสมอ
  • ระยะยาว ต้องมี MRP
  • เอกชน มีความเสี่ยง จึงต้องมี DRP และ LP

Yield curve

  • โดยปกติแล้วเงินกู้ระยะยาวมีความเสี่ยงมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยจึงสูงขึ้นด้วย
  • เมื่อนำไปพล็อตกราฟ จะได้กราฟรูปโค้งขึ้นแบบ upword sloping (slide 4-30)
  • Yield curve ของบริษัทเอกชน จะสูงกว่า Yield curve ของรัฐบาล เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า
  • Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตไม่ดี จะสูงกว่า Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตดี เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า

PEH

Pure Expectations Theory(PEH) เป็นวิธีคำนวนหาอัตราดอกเบี้ยในอนาคตแบบคร่าวๆ จากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน โดยสมมติว่า MRP = 0

อัตราดอกเบี้ยระยะยาว = ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปัจจุบัน + อัตราดอกเบี้ยประมาณการในอนาคต

ตัวอย่าง

อัตราดอกเบี้ย 2 ปี = 6.2%
อัตราดอกเบี้ย 5 ปี = 6.5%

ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยระหว่างต้นปีที่ 3 ถึงสิ้นปีที่ 5 ระยะเวลา 3 ปี คำนวณได้จาก

6.5% = [2(6.2%)+3(x%)]/5
32.5% = 12.4% + 3(x%)
6.7% = x%

PEH เป็นทฤษฏีที่ไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริง MRP ไม่เท่ากับ 0

ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน คือตลาดที่บุคคลที่ต้องการกู้เงิน มาพบกับผู้ที่มีเงินให้กู้
ชนิดของตลาด

  • Physical asset market ตลาดซื้อขายสินนทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น เครื่องจักร ที่ดินอาคาร สินค้าต่างๆ
  • Financial asset markets ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง
  • Spot markets (on-the-spot) ตลาดที่ซื้อขายสินทรัพย์แล้วส่งมอบทันที ณ วันที่ซื้อขาย
  • Futures Market ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง
  • Capital markets ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุเกิน 1 ปี เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล
  • Mortgage markets ตลาดเกี่ยวกับการจำนองสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เช่น ที่ดิน อาคาร
  • Consumer credit markets ตลาดให้เช่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น รถยนต์ ตู้เย็น
  • World , National, Reginal and Local Markets ตลาดซึ่งแบ่งเขตการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ
  • Primary markets (ตลาดแรก) ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรก (เรียกว่า หุ้น IPO)
  • Secondary Market (ตลาดรอง) ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์เปลี่ยนมือระหว่างผู้ลงทุนด้วยกัน
  • Initial public offering(IPO) market ตลาดย่อยของตลาดแรก บริษัทจะนำหุ้นเข้า IPO หลายครั้งเพื่อให้หุ้นกระจายในมือของบุคคลทั่วไปก่อน
  • Private Markets ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์แก่สถาบันโดยตรงซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้ว
  • Public Markets ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์แก่มหาชน 

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

สถิติที่นิยมใช้ในการบอกความเสี่ยงเฉพาะ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divaition) มีสูตรดังนี้
σ = sqrt(Σ(ki-k^)2Pi)

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (CV : ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน)

ค่าสัมประสิทธิความแปรปรวน คือ ความเสี่ยงของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 1 หน่วย
CV = σ/k^

การเลือกตัดสินใจลงทุน

  1. กรณีที่ k^ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ σ ต่ำกว่า
  2. กรณีที่ σ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ k^ สูงกว่า
  3. กรณีที่ k^ สูงกว่าและ σ สูงกว่า เลือกหุ้นที่ CV ต่ำกว่า

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Risk) เป็นความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป การลงทุนในสินทรัพย์เป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยง ทำให้ความเสี่ยงต่ำลง

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

คำนวณด้วย ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
k^p = Σ(wik^i)

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ตามปกติ σ ของ port จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ σ ของสินทรัพย์แต่ละตัว เพราะผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน
ตัวอย่างเช่น การลงทุนในกิจการ 2 กิจการ ซึ่งมีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า จะชดเชยผลตอบแทนของหลักทรัพย์อีกตัว ทำให้ผลตอบแทนรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้และความเสี่ยงตลาด

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

เป็นความเสี่ยงของหลักทรัพย์นั้น สามารถขจัดได้โดยการกระจายการลงทุน

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เป็นความเสี่ยงของตลาด ไม่สามารถกำจัดได้แม้จะกระจายการลงทุน ความเสี่ยงนี้วัดได้ด้วยค่าเบต้า beta (b) ของตลาด

Beta Coefficient : b

  • ใช้วัดความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เที่ยบกับความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
  • อัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ วัดจากการเคลื่อนไหวของดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ

ข้อสังเกตุ


  • ถ้า b = 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงเท่ากับตลาด
  • ถ้า b < 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด
  • ถ้า b > 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด

  •  

    ค่าเบต้าและ CAPM , SML

    Capital Asset Pricing Model : CAPM เป็นแบบจำลองที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน โดยมีหลักสำคัญคือ ผลตอบแทนที่ต้องการของหลักทรัพย์ เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง บวก อัตราผลตอบแทนจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรากำจัดความเสี่ยงที่กำจัดได้ออกไปแล้ว
    ki = kRF+(kM-kRF)bi
    ki = อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ
    kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง
    kM = อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
    bi = ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ i

    ค่า beta ของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

    คำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเบต้า จากสินทรัพย์แต่ละตัว
    bP = w1b1 + w2b2 + w3b3 ...+wnbn
    bP = Σwibi