Custom Search
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ตลาดหุ้น

ตลาด หุ้น หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ ตลาดซึ่งเป็นแหล่งรวมของบริษัทหลายๆ บริษัท ที่เข้ามาทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" เข้ามาร่วมลงทุน และนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือร่วมเป็นเจ้าของในบริษัทนั้นๆ การลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงินในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถ หลีกเลี่ยง หรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 
โดยมีวัตถุ ประสงค์ เพื่อจัดให้มีแหล่งกลางสำหรับการซื้อ ขาย หลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และเพื่อการระดมเงินทุนในประเทศ โดยได้เปิดให้มีการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 โดยชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ "Securities Exchange of Thailand" และได้มีการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "The Stock Exchange of Thailand (SET)" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา

สำหรับการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ และสนับสนุนการระดมเงินทุนระยะยาวของธุรกิจนั้น สามารถจำแนกออกได้ตามขนาดของธุรกิจที่ต้องการจะระดมทุน หรือ บริษัทจดทะเบียน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่สนับสนุนการระดมทุนในตลาดทุนของธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ กิจการสาธารณูปโภค และรัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูป ซึ่งมีทุนชำระแล้วตั่งแต่ 200 ล้านบาท ขึ้นไป 

รวมทั้งเป็น ศูนกลางการซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว ในขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ทำหน้าที่สนับสนุนการระดมทุนในตลาดทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มี ศักยภาพ หรือ SMEs ที่มีทุนชำระแล้วต่ำกว่า 200 ล้านบาท และเป็นศูนกลางการซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังกล่าว โดยเริ่มเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544
บทบาทและภาระหน้าที่ของตลาดหุ้น

1) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์

2) ดำเนินธุรกิจใดๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) การดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

หุ้น คืออะไร ?


หุ้น คืออะไร ?

หลังจากได้ทราบว่า ตลาดหุ้นคืออะไร มีวัตถุประสงค์และหน้าที่อย่างไรแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาดูว่า ตลาดแห่งนี้มีสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งสินค้าของตลาดหุ้นก็คือ หุ้น นั่นเอง ซึ่งสินค้าก็จะมีหลากหลายแบ่งแยกตามประเภทของสินค้า และตามความสนใจของนักลงทุน จริงๆแล้ว สินค้าเหล่านี้ คงจะเคยผ่านสายตาใครหลายๆคนมาแล้ว ตามสื่อโทรทัศน์ ซึ่งจะมีตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษต่างๆ วิ่งผ่านทางหน้าจอ โดยอักษรเหล่านั้นจะเป็นตัวย่อของบริษัท ยกตัวอย่างเช่น MCOT ย่อมาจาก บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ เราเรียกโดยรวมว่า "ตราสาร" หมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินทุน จากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ดังนี้

1) หุ้นสามัญ (Common Stock)

คือหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80% ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภท หุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ โดยตรง เช่น การมีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ร่วมตัดสินในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้นถ้าหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน

2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)

เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย มีสภาพคล่องต่ำ บนกระดานหุ้นจะสังเกตุได้จาก -P เช่น SCB-P, TISCO -P เป็นต้น

3) หุ้นกู้ (Debenture)

เป็นตราสารที่บริษัทเอกชนออกเพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน โดยผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการบริษัท และบริษัทจะต้องจ่ายผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือตามระยะเวลา และอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน เมื่อสิ้นอายุตามระบุในเอกสาร ตลาดหุ้นกู้มักมีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากนัก ส่วนใหญ่ซื้อขายโดย ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้ลงทุนระยะยาว

4) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)

หุ้นกู้แปลงสภาพ คล้ายคลึงกับ หุ้นกู้ แต่แตกต่างกันตรงที่ หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ในช่วงเวลาอัตราและราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่เศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทน ได้จากราคาหุ้นเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้กำไรมากกว่า ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา

5) ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)

เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงระยะเวลาที่ระบุไว้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ มักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุน

6) ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น (Short - Term Warrant)

ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้จะมีอายุไม่เกิน 2 เดือน และเป็นทางเลือกหนึ่งจากการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น แทนการจัดสรรสิทธิในการจองซื้อหุ้น และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สามารถยืนคำขอให้รับเป็นหลักทรัพย์ประเภทที่ซื้อ ขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ได้

7) ใบสำคัญแสดงสิทธอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)
เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป โดยจะให้สิทธิแก่ผู้ถือ DW ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์ หรือดัชนีหลักทรัพย์ ในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออก DW เป็นหลักทรัพย์ หรือ เงินสดก็ได้

8) หน่วยลงทุน (Unit Trust)

คือ ตราสารที่ออกโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ในรูปของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมเงินทุนจากประชาชน โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเป็นผู้บริหารกองทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูง สุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล ข้อดีของการลงทุนประเภทนี้คือ จะมีผู้บริหารมืออาชีพดูแลเงินแทนเรา มีการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหุ้นกลุ่มต่างๆ และมีอำนาจต่อรองที่มากกว่า เพราะเป็นกองทุนขนาดใหญ่

Indicator คือ ตัวชี้วัด

Indicator คือ ตัวชี้วัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Over Sold, Over Bought, สัญญานการเข้าซื้อ, สัญญานการขาย ซึ่งแต่ละ Indicators ก็มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไปและมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไปตาม หน้าที่ของมันครับ  
ปกติ แล้ว Indicators ที่ทาง Programs ให้มาเลยนั้นจะมีเพียง Moving Average ซึ่งผมจะอธิบายวิธีการทำงานและเซตค่าต่างๆครับ บทนี้จะเป็นการกล่าวถึงเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้เราวิเคราะห์กันครับ 

  • Trend Line : เอาไว้ดูเส้นแนวโน้ม
  • Text Labal : เอาไว้เขียนข้อความบนกราฟได้ 
  • Price Pointer : เอาไว้บอกราคาในกราฟ เพราะกราฟดูยากว่า ตรงเส้นไหน ราคาเท่าไหร่
  • Symbol : เอาไว้ Mark ที่เราสนใจ
  • Horizontal Line :คล้ายๆกับ Price Pointer แต่ใช้ง่ายกว่า
  • Fibonacci Retracement : เป็นเครื่องมือดูเส้นแนวโน้ม
  • Fibonacci Arc : เป็นเครื่องมือที่ดูว่า จะซื้อ - ขาย เมื่อไหร่ (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Fibonacci Fan : เป็นเครื่องมือที่ดูว่า จะซื้อ - ขาย เมื่อไหร่ (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Moving Average : เป็นเครื่องมือที่คำนวณหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Bollinger Band : เป็นเครื่องมือหาค่าเฉลีี่่ยของราคาหุ้น (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Parabolic Sar : เป็นตัวบ่งชี้ว่า หุ้นกำลังขึ้นหรือลงและมีทิศทางอย่างไร (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • AVG Directional Movment Index : เป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งของราคาตลาดโดยรวม (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Commodity Channel Index (CCI) : ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ราคาของหุ้น (เอาไว้ดูเส้นแนวโน้ม)
  • Average Ture Range : เป็นสูตรที่ดูว่ามีค่าแกว่งตัวมากน้อยเพียงใด (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Linear Regression : เป็นสูตรการนำตัวแปรเช่น ราคาเปิด ปิด สูงต่ำ มาคำนวณ (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Time Series Forecast : เป็นการคำนวณดูอนาคตของเส้นกราฟ (เอาไว้ดูเส้นการซื้อ - ขาย)
  • Moving AVG Conv./Divergence (MACD) : เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา (เอาไว้ดู แนวโน้ม และ การซื้อ - ขาย)
  • Hilbert Transform Trend Line : เอาไว้ดูเส้นแนวโน้ม
  • Hilbert Transform Dominant Cycle Period : เอาไว้ดูเส้นแนวโน้มและสัญญานการซื้อขาย
  • Hilbert Transform Dominant Cycle Phase : เอาไว้ดูเส้นแนวโน้มและสัญญานการซื้อขาย
  • Momentum : ดูเส้นแนวโน้ม
  • Williams' %R : เป็นการดูเส้นแนวโน้มและ สัญญานการซื้อขาย
  • Relative Strength Index (RSI) :บอกสัญญานการซื้อขาย
  • Rate of Change (ROC) : บอกสัญญานการซื้อขาย
  • Stochastic Slow : บอกเส้นแนวโน้มและสัญญานการซื้อขาย
  • Stochastic Fast : บอกเส้นแนวโน้มและสัญญานการซื้อขาย
  • Chaikin A/D Line (AD) : บอกสัญญานการซื้อ - ขาย
  • Money Flow Index : บอกสัญญานการซื้อขาย
  • Average Price : บอกเส้นแนวโน้มและ สัญญานการซื้อขาย
  • Balance of Power : บอกเส้นแนวโน้ม
  • Aroon Oscillator : บอกสัญญานการซื้อ-ขาย
  • Absolute Price Oscillator (APO) : บอกเส้นแนวโน้ม และสัญญานการซื้อขาย
  • Percentage Price Oscillator (PPO) : บอกเส้นแนวโน้ม และสัญญานการซื้อขาย
  • Chaikin A/D Oscillator : บอกเส้นแนวโน้ม และสัญญานการซื้อขาย

Introduction to Teacnical Analysis

การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค (Introduction to Teacnical Analysis)
เหตุที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคได้รับความสนใจและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดหลาย 100 ปี เพราะ


  • 1.ใช้ข้อมูลน้อย คือใช้เพียงราคา และ ปริมาณการซื้อขาย ของหลักทรัพย์ในช่วง เวลา หนึ่งเท่านั้น
  • 2.ใช้หลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับกันมาวิเคราะห์ คือใช้หลักวิชาการทางสถิติความน่าจะเป็ฯ ฯลฯ
  • 3.ใช้หลักจิตวิทยา โดยมีปรัชญาความเชื่อหลัก 3 ประการ คือ
  • - ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนมาจากปัจจัยด้านต่างๆ ทั้งจากด้านพื้นฐานผู้ที่รู้ข้อมูลภายในบริษัทนั้น ความกล้า ความกลัวของผู้คน ฯลฯ
  • - ราคาหลักทรัพย์มักจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มอย่างเป็นแบบแผน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มใหม่
  • - พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนของนักลงทุนทั่วไปมักจะกระทำซ้ำรอยเดิม อันเกิดจากแรงผลักดัน 3 ประการคือ ความโลภ ความหวัง และความกลัว ในสภาวะที่ราคาหุ้นขึ้นมากก็เกิดความโลภว่ามันจะขึ้นได้อีกเสมอ จึงไม่รู้จักขายทำกำไรในกรณีที่ราคาหุ้นมากจนเกินจริง มิหนำซ้ำกลับเพิ่มความโลภหาเงินมาซื้อหุ้นจนเป็นหนี้สิน ในที่สุดก็ติดหุ้นในราคาสูง
ส่วนใหญ่แล้วการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น จะใช้โปรแกรมเข้าช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งมีตัวช่วยหลายแบบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
การหามูลค่าของกิจการ จะหาจากสินทรัพย์ของกิจการ โดยพิจารณาได้สองทางคือ
ทางที่ 1 จากสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ได้แก่

  • - มูลค่าตามบัญชี
  • - Replacement value
  • - Liquidation value
  • - Net Asset Value
ทางที่ 2 ผลประโยชน์ที่ได้จากสินทรัพย์ ได้แก่
  • - ยอดขาย (sales)
  • - กำไรสุทธิ (net income)
  • - กระแสเงินสด (cash flow)
  • - เงินปันผล (dividend)
  • - กระแสเงินสดอิสระ (free cash flow)
แบบจำลองการประเมินมูลค่า
  • 1. แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสด (DCF)
  • 1.1 การคิดลดเงินปันผล
  • 1.2 การคิดลด กระแสเงินสดอิสระ
  • 1.3 กำไรคงเหลือ
  • 2. แบบจำลองการประเมินมูลค่าด้วยค่าสัมพัทธ์
  • 3. แบบจำลองการประเมินมูลค่า โดยใช้ตัวแบบออปชัน ด้วยค่าสัมพัทธ์
ในการวิเคราะห์บริษัทใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ

  • 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อความในลักษณะบรรยาย อาจเป็นข้อมูลอดีตปัจจุบัน หรือแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับบริษัท ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ลักษณะการดำเนินงานแผนงานในอนาคต ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เป็นต้น
  • 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่วัดได้ในเชิงตัวเลขที่มาจากกิจกรรมด้านต่างๆ ของบริษัทข้อมูลเชิงปริมาณที่สำคัญ คือ งบการเงิน ซึ่งเป็นรายงานผลประกอบการทางการเงินของบริษัท ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน วิเคราะห์ตามแนวดิ่งวิเคราะห์ Common Size มีการประมาณการงบการเงิน 3-5 ปี พร้อมกับมีการจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อทำการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ต่อไป
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
เราประเมินมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสม (Intrinsic value หรือ V0) เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับราคาตลาด (P0) ถ้า P0 < V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Undervalue นักลงทุนควรซื้อ ถ้า P0 > V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Overvalue นักลงทุนควรขายหรือไม่ซื้อหลักทรัพย์นั้น
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ เป็นการหาว่ามีการไม่เท่ากันของมูลค่าที่เหมาะสมกับราคาตลาดหรือไม่ ซึ่งภาวะที่มีการไม่เท่ากันของราคา ถือเป็นภาวะตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะสามารถช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสิน ใจเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท แล้วจึงทำการประเมินมูลค่าเพื่อหาหลักทรัพย์ที่มีราคาตลาดต่างจากมูลค่าที่ เหมาะสม